วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ขอให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมทุกคน

จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่น จุดด้อยอย่างไร ให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ เพื่อจะนำไปพัฒนาใช้ในโอกาสต่อไป

จุดเด่น
-Weblog เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
-Weblog เป็นสื่อและแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาเพื่อสืบค้นข้อมูล
-Weblog เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง
-Weblog เป็นการเรียนรู้นอกกรอบที่ผู้เรียนไม่เคยได้สัมผัสจริง
-Weblog ยังเป็นสื่อสร้างสรรค์เหมาะแก่การนำไปประยุกต์กับการประกอบวิชาชีพครู
-Weblog ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่จบสิ้น

จุดด้อย
-ผู้เรียนยังไม่รู้จักการสร้างWeblogที่ดี
-สื่อประกอบในการเรียนการสอนของผู้เรียนและสัญญาณอินเตอร์เน็ทไม่เอื้ออำนวย

         อย่างไรก็ตามดิฉันคิดว่าการที่ผู้สอนได้นำการใช้ Weblog มาสอนให้แก่นักศึกษาเป็นสิ่งที่ดี  สามารถช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงนวัตกรรมที่สมัยใหม่  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและผู้สอน
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าควรที่จะจัดให้บรรจุเป็นวิชาเรียนในการเรียนการสอนในต่อๆไป

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ส่งงาน

รายงานที่ส่งกลุ่ม 9

ข้อสอบปลายภาคเรียน

ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงในWeblog ของนักเรียนแต่ละคน คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่ยวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ตอบ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูพันธ์ใหม่ ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานในด้านดีและด้านเสียของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชิณวัตร โดย
ข้อดีของท่านทักษิณที่สามารถนำมาสอนแก่ผู้เรียนคือในด้านของการมองเห็นคุณค่าให้ความสำคัญกับบุคคลในด้านของสิทธิมนุษยชนที่เห็นได้จากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคที่ท่านได้มองเห็นและให้ความสำคัญให้ความช่วยเหลือ ซึ่งโครงการนี้จะมีประโยชน์อย่างสูงสุดต่อประชาชนชั้นรากหญ้า หรือกลุ่มบุคคลที่หาเช้ากินค่ำได้มีสิทธิในการรักษาตัวเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปและรวมถึงโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ได้ทุ่มเทการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยให้กับคนยากจน ทำให้บุคคลเหล่านั้นมีปัจจัยสี่ในการดำเนินชีวิตได้เหมือนกับมนุษย์คนอื่นๆ ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าโครงการ 2 โครงการที่กล่าวมาข้างต้น สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงการให้ความสำคัญให้ความเมตตาเอื้ออาทรแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง
ข้อเสียของท่านคือ การทำโครงการแต่ล่ะโครงการมีการฉ้อโกงงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้นำของประเทศไม่ควรกระทำอย่างยิ่งเพราะเป็นการบ่อนทำลายประเทศ ซึ่งการกระทำดังที่กล่าวมาข้างต้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
เราในฐานะที่เป็นครูพันธ์ใหม่ควรนำทั้งในส่วนดีและส่วนเสียมาอบรบสั่งสอนผู้เรียนและชี้ให้เห็นผลกระทบจากการกระทำความดีและผลของการกระทำความเสื่อมเสียว่าเมื่อไรที่คุณกระทำความชั่วต่อแผ่นดิน เมื่อนั้นคุณก็ไม่มีแผ่นดินที่จะให้อาศัยต่อไป

ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบ การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ผู้สอนที่ดีควรมีการเตรียมตัวก่อนสอนให้มีความรู้ในเรื่องที่จะสอนอย่างแม่นยำ และควรเตรียมแผนการสอนล่วงหน้าก่อนเข้าสอนทุกครั้ง และก่อนทำการเรียนการสอนทุกครั้งผู้สอนที่ดีควรศึกษาและเรียนรู้ว่าผู้เรียนมีความกระตือรือร้น และมีความพร้อมที่จะเรียนมากน้อยเพียงใด หากผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนน้อยผู้สอนควรปรับเปลี่ยนแผนการสอนที่ได้วางไว้ ว่าเราควรเพิ่มหรือลดแผนการสอนในวันนั้นอย่างไรเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับผู้เรียน และควรมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในชั้นเรียน ควรจัดกิจกรรมที่เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม เพราะ การทำงานเป็นกลุ่มสามารถทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การทำงานกลุ่มซึ่งจะมี ประโยชน์อย่างมากในการออกไปประกอบอาชีพของผู้เรียนซึ่งจะต้องมีการทำงานร่วม กับบุคคลอื่น หากเราปูพื้นฐานการทำงานเป็นกลุ่ม สอนให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในอนาคตต่อไปจะทำให้ผู้เรียนสามารถอาศัยและทำงานร่วมกันกับบุคคลอื่นได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ข้อที่ 3 ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูพันธ์ใหม่ ข้าพเจ้าจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพราะการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ จะช่วยให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นพร้อมที่จะใฝ่รู้ใฝ่เรียนและช่วยในการประหยัดทรัพยากรเช่นการเรียนการสอนผ่านระบบ M learning สามารถที่จะช่วยในการประหยัดทรัพยากรในการเดินทาง ช่วยลดมลภาวะทางอากาศ ยานพาหนะ และรวมถึงค่าใช้จ่าย แต่กระบวนการเรียนก็ยังสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี และในส่วนของการส่งงานก็ให้นักศึกษาส่งงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะรวดเร็วและสามารถตรวจเช็ควันเวลาการส่งงานได้ตามความเป็นจริง ซึ่งการนำเอานวัตกรรมการเรียนการสอนแบบใหม่มาใช้ครูพันธ์ใหม่ทุกคนก็ควรมีความรู้ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างดี เพราะโลกในปัจจุบันมาการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ดังนั้นครูพันธ์ใหม่ทุกคนควรรู้เท่าทันนวัตกรรมใหม่ๆที่มีในปัจจุบัน โดยนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ ผู้สอนและผู้เรียน

ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
ตอบ  การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารการจัดการในชั้นเรียน  เพราะการบริหารการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนจะมีผลต่อการประเมินผลการดำเนินการของสถานศึกษาว่ามีการพัฒนาให้เป็นไปตามมาตราฐานคุณภาพตามที่ได้กำหนดไว้หรือไม่  ซึ่งหากผลไม่สามารถเป็นไปตามผลที่ได้กำหนดไว้จะต้องทำการส่งเสริม และปรับปรุงคุณภาพให้ได้ตามเกณฑ์หรือตามมาตราฐานที่กำหนดไว้
ดังนั้นเพื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ  ผู้สอนควรมีความพร้อมและมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพ  และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน

ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบ  ข้อดี
- อาจารย์ตรงต่อเวลา
- อาจารย์แต่งกายสุภาพ  เรียบร้อย
- อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะแนวทางการสอนได้ถูกต้องตามเป้าหมาย
- อาจารย์เน้นการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- อาจารย์นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าสนใจและยังส่งผลต่อนักศึกษาที่สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปต่อยอดในการประกอบวิชาชีพครูได้
         ข้อเสีย
- เวลาและระยะการดำเนินงานไม่เหมาะสม  เพราะเวลาน้อยเกินไปสำหรับการเรียนรู้สิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์
- อาจารย์สอนเร็วเกินไป  ในบางครั้งยังทำไม่ทัน  ทำให้อาจารย์เสียเวลาที่จะสอนเรื่องใหม่  เพราะยังต้องกลับมาทบทวนเรื่องเก่าๆอยู่
         ข้อเสนอแนะ
- ผู้สอนควรบรรจุการทำบล็อกหรือการสอนเรื่องเทคโนโลยีต่างๆไว้ในหลักสูตรการประกอบวิชาชีพครูเพื่อที่จะได้นำเอาความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานได้เต็มที่และเต็มศักยภาพ

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การจัดการในชั้นเรียน


การจัดชั้นเรียน
การจัดชั้นเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียนหลักการจัดชั้นเรียนเนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค
5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
6. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้
6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.2 จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

ผู้นำในดวงใจ


พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 16 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531และเป็นนายกรัฐมนตรีตามคำเชิญของรัฐสภาที่ครองอำนาจยาวนานที่สุด ทั้งนี้เพราะกฎหมายไทยในสมัยนั้นไม่ได้กำหนดให้รัฐสภาต้องเลือกนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
บุคลิกส่วนตัวพลเอก เปรมเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก เปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เกิดที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวน 8 คน ของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางวินิจทัณฑกรรม(ออด ติณสูลานนท์) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา สงขลา ในหมายเลขประจำตัว 167 และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2480 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า (โรงเรียนนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) พลเอก เปรม จบการศึกษาหลักสูตรพิเศษโรงเรียนเทคนิคทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2484 และเข้ารบในสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ ปอยเปต กัมพูชา จากนั้นเข้าสังกัดกองทัพพายัพ ภายใต้การบังคับบัญชาของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ทำการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2485-2488 ที่เชียงตุง ภายหลังสงคราม พลเอก เปรมรับราชการอยู่ที่อุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ ฟอร์ตน็อกซ์ มลรัฐเคนตักกี พร้อมกับพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ และพลเอกวิจิตร สุขมาก เมื่อ พ.ศ. 2495 แล้วกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรี พลเอก เปรมได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ยศพลตรี เมื่อ พ.ศ. 2511 ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า นี้เอง ที่เป็นที่มาของชื่อที่เรียกแทนพลเอก เปรมอย่างกว้างขวางว่า ป๋า หรือ ป๋าเปรม เนื่องจากท่านมักเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า "ป๋า" และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าอย่างเอ็นดูและเป็นกันเองว่า "ลูก" ที่เรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบัน พลเอก เปรม ย้ายไปเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน ในปี พ.ศ. 2516 และเลื่อนเป็นแม่ทัพภาคทึ่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสานเมื่อ พ.ศ. 2517 ได้เลื่อนยศเป็นพลเอก
ใบงานที่8 ให้ผู้เรียนสรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9-10-11-12 ลงในบล็อกของผู้เรียนอย่างย่อ ๆ
กลุ่มที่ 9 เรื่อง การเขียนโครงการแลละการบริหารรการจัการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา โครงการที่กำหนดขึ้นแม้เป็นโครงการที่มีลักษณะดีเพียงใด แต่ตัวโครงการก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การ หน่วยงาน หรือ สังคมของชนกลุ่มใหญ่ ตามที่ได้เขียนไว้ในโครงการได้ทั้งหมด เพราะการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในโครงการยังมีส่วนประกอบหรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจทำให้การดำเนินงานของโครงการบรรลุถึงเป้าหมายอย่างด้อยประสิทธิภาพ นอกจากนี้โครงการหนึ่งอาจเป็นโครงการที่ดีที่สุดในระยะหนึ่ง แต่อาจเป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยในอีกเวลาหนึ่งก็เป็นไปได้ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนโครงการอาจจะเป็นคนละคนกับผู้ดำเนินงานตามโครงการหรืออาจจะเป็นคนๆ เดียวกันหรือกลุ่มๆเดียวกันก็ย่อมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและชนิดขอโครงการลักษณะของโครงการและอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโครงการจะมีขนาดเช่นใด ชนิดและประเภทใด ย่อมต้องมีรูปแบบ (Form) หรือโครงสร้าง (Structure) ในการเขียนที่เหมือนกันดังนี้
1. ชื่อโครงการ
2. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
3. ผู้รับผิดชอบโครงการ
4. หลักการและเหตุผล
5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
6. วิธีดำเนินการ
7. แผนปฏิบัติงาน
8. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
9. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้
10. การติดตามและประเมินผลฃโครงการ