ใบงานครั้งที่ 6 ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้
1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง สิ่งต่างๆ อันประกอบด้วยสิ่งประดิษฐ์ แบบแผนพฤติกรรม บรรทัดฐาน ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ ความเข้าใจ และข้อสมมุติพื้นฐานของคนจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ภายในองค์การ
2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขการที่คนเราจะอยู่ในสถานที่ใด สังคมใด เราควรที่จะศึกษาวัฒนธรรมของสิ่งเหล่านั้นให้ดีและปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมนั้นๆให้ได้ โดยมีลักษณะดังนี้1.เราควรศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคล ศาสนาที่ประชาชนในที่นั้นนับถือ2.เราควรศึกษาลักษณะอาชีพส่วนใหญ่ในพื้นที่3.เราควรศึกษาประเพณี วัฒนธรรมที่มีในพื้นที่
3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
1.รับฟังมุมมองที่แตกต่าง ไม่อคติ มีใจเป็นกลาง มีเหตุผล ไม่คิดว่า ความคิดของตนเองถูกแล้ว ดีแล้วเสมอ ไม่คิดว่า ความคิดของคนอื่นผิด หรือ ผิดทั้งหมดเสมอ ไม่พูดจาหรือแสดงออกที่เป็นการดูถูกผู้อื่น
2.ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นยอมรับและหาวิธีการที่ผสมผสานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (ไม่เอาแพ้ – ไม่เอาชนะกัน)
3.ไม่คิดว่า เคยทำอย่างไรมา ก็จะต้องทำอย่างนั้นตลอดไป โดยไม่ดูข้อมูลหรือ ปัจจัยที่เปลี่ยนไป (ไม่ใช่อะลุ่มอล่วยด้วยความรู้สึกเห็นใจ)
4.ไม่ตีกรอบการทำงานของตัวเอง แต่จะพิจารณาถึงเป้าหมาย / หลักการ ถ้าเป็นการเพิ่ม Performance ให้กับตัวเองและส่วนรวม จะลองเอาไปคิดและทำดู
5.ไม่หนีปัญหา แต่จะจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา หากทีมใดกลุ่มใดมีหลักการข้างต้นแล้วจะทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีและทำให้การทำงานเป็นทีมนั้นประสบความสำเร็จ
วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานครั้งที่ 5 ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษาการอยู่ร่วมกันในหอพักนั้น เป็นการอยู่รวมของคนหมู่มาก ซึ่งพื้นฐานและพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องมีกติกาข้อตกลงในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเพื่อทำให้เกิดความสามัคคีและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ
2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ในฐานะที่เป็นนักเรียน นักศึกษาจึงมีความจำเป็นที่ต้องทำงานเป็นกลุ่ม ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนไม่ค่อยพึงปราถนา แต่ก็สามารถทำให้เป็นเรื่องที่สนุกขึ้นมาได้ และผลงานที่ออกมายังมีประสิทธิผลอีกด้วย ในความเป็นจริงหลายๆคนคงทราบกันดีว่า การทำงานเป็นกลุ่มนั้นมีข้อดีมากมาย เช่น
1.สมาชิกในกลุ่มสามารถแสดงความดิดเห็นได้หลากหลาย
2.งานกลุ่มที่เกิดขึ้นนั้นมีความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น เพราะสมาชิกในกลุ่มช่วยกันหาทางแก้ปัญหา (ซึ่งได้ดีกว่าทำงานเดี่ยว)
3.สมาชิกในกลุ่มสามารถช่วยเหลือ และกระตุ้นกันและกันในการทำงานได้
3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
หลักการมนุษย์สัมพันธ์มนุษยสัมพันธ์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงการใช้ศิลปะในการแสดงออกทางพฤติกรรมระหว่างกันของบุคคลในทุกระดับของสังคม ซึ่งจะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกัน ดังนั้นมนุษยสัมพันธ์จึงเป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยวิทยาการหลายสาขาวิชามาบูรณาการกัน หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ โดยทั่วไปแล้ว เราควรจะเริ่มต้นด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น
1. จงเห็นคุณค่าและความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
2. จงมีทัศนคติที่ดีต่อมนุษย์ด้วยกันเห็นในความสำคัญของมนุษย์
3. จงเริ่มต้นจากตัวเราก่อน
4. จงเห็นคุณค่าและเหตุผลของผู้อื่น
5. จงแสดงความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยท่าทีที่เป็นมิตรสุภาพให้เกียรติต่อกัน
6. พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง การโต้เถียงในสิ่งที่ไม่ใช่สาระหรือประเด็นสำคัญ
7. มีความจริงและสุจริตใจกับผู้อื่นเสมอ ฯลฯ
เทคนิควิธีมนุษยสัมพันธ์ในการสร้างมิตร การแสวงหาวิธีการ ที่จะทำให้คนเรามีมนุษยสัมพันธ์มีความเป็นมิตรเกื้อกูลเอื้ออาทรกันนั้น มีหลักการช่วยส่งเสริมอยู่มากมาย ดังจะกล่าวพอสังเขปดังนี้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น
1. พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย
1. เมตตา ได้แก่ การมีเมตตาจิตคิดที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข
2. กรุณา คือ คิดเอ็นดูจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ มีความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
4. อุเบกขา คือ การวางตัวเป็นกลาง ไม่ลำเอียง
2. สังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย
1. ทาน คือ การแบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น
2. ปิยวาจา คือ การเจรจาไพเราะอ่อนหวาน ชวนฟัง
3. อัตถจริยา คือ การปฏิบัติตนอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลกัน
4. สมานัตตตา คือ การวางตัวสม่ำเสมอ และทำให้เข้ากับคนทั้งหลายได้
1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษาการอยู่ร่วมกันในหอพักนั้น เป็นการอยู่รวมของคนหมู่มาก ซึ่งพื้นฐานและพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องมีกติกาข้อตกลงในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเพื่อทำให้เกิดความสามัคคีและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ
2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ในฐานะที่เป็นนักเรียน นักศึกษาจึงมีความจำเป็นที่ต้องทำงานเป็นกลุ่ม ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนไม่ค่อยพึงปราถนา แต่ก็สามารถทำให้เป็นเรื่องที่สนุกขึ้นมาได้ และผลงานที่ออกมายังมีประสิทธิผลอีกด้วย ในความเป็นจริงหลายๆคนคงทราบกันดีว่า การทำงานเป็นกลุ่มนั้นมีข้อดีมากมาย เช่น
1.สมาชิกในกลุ่มสามารถแสดงความดิดเห็นได้หลากหลาย
2.งานกลุ่มที่เกิดขึ้นนั้นมีความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น เพราะสมาชิกในกลุ่มช่วยกันหาทางแก้ปัญหา (ซึ่งได้ดีกว่าทำงานเดี่ยว)
3.สมาชิกในกลุ่มสามารถช่วยเหลือ และกระตุ้นกันและกันในการทำงานได้
3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
หลักการมนุษย์สัมพันธ์มนุษยสัมพันธ์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงการใช้ศิลปะในการแสดงออกทางพฤติกรรมระหว่างกันของบุคคลในทุกระดับของสังคม ซึ่งจะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกัน ดังนั้นมนุษยสัมพันธ์จึงเป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยวิทยาการหลายสาขาวิชามาบูรณาการกัน หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ โดยทั่วไปแล้ว เราควรจะเริ่มต้นด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น
1. จงเห็นคุณค่าและความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
2. จงมีทัศนคติที่ดีต่อมนุษย์ด้วยกันเห็นในความสำคัญของมนุษย์
3. จงเริ่มต้นจากตัวเราก่อน
4. จงเห็นคุณค่าและเหตุผลของผู้อื่น
5. จงแสดงความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยท่าทีที่เป็นมิตรสุภาพให้เกียรติต่อกัน
6. พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง การโต้เถียงในสิ่งที่ไม่ใช่สาระหรือประเด็นสำคัญ
7. มีความจริงและสุจริตใจกับผู้อื่นเสมอ ฯลฯ
เทคนิควิธีมนุษยสัมพันธ์ในการสร้างมิตร การแสวงหาวิธีการ ที่จะทำให้คนเรามีมนุษยสัมพันธ์มีความเป็นมิตรเกื้อกูลเอื้ออาทรกันนั้น มีหลักการช่วยส่งเสริมอยู่มากมาย ดังจะกล่าวพอสังเขปดังนี้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น
1. พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย
1. เมตตา ได้แก่ การมีเมตตาจิตคิดที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข
2. กรุณา คือ คิดเอ็นดูจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ มีความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
4. อุเบกขา คือ การวางตัวเป็นกลาง ไม่ลำเอียง
2. สังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย
1. ทาน คือ การแบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น
2. ปิยวาจา คือ การเจรจาไพเราะอ่อนหวาน ชวนฟัง
3. อัตถจริยา คือ การปฏิบัติตนอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลกัน
4. สมานัตตตา คือ การวางตัวสม่ำเสมอ และทำให้เข้ากับคนทั้งหลายได้
ใบงานครั้งที่ 4
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังนี้
1.หลักการของการทำงานเป็นทีมควรเป็นอย่างไร
1. การตั้งวัตถุประสงค์ของทีมงานอย่างชัดเจน วัตถุประสงค์เป็นจุดหมายที่เราจะต้องบรรลุให้ได้ เป็นเหมือนดวงดาวที่เราจะต้องร่วมกันฟันฝ่าไปถึงไม่ว่า จะยากเย็นเพียงใดก็ตาม เช่น เป็นผู้นำตลาดหรือเป็นบรรษัทธรรมาภิบาล เป็นต้น
2. การกำหนดขั้นตอนการทำงานของทีมงาน การทำงานเป็นทีมจะต้องเป็นระบบ ดังนั้น ต้องมีความชัดเจนว่าใครจะเป็นคนทำ ทำอะไร ทำที่ไหน ทำอย่างไร ทำทำไม และทำเมื่อใด
3. การกำหนดทิศทางของทีมงาน ทิศทางการทำงานของทีมจะแสดงถึงความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และความแน่วแน่ของทีมงานในการทำงานให้ประสบ ความสำเร็จซึ่งถือเป็นการแสดงภาวะผู้นำของทีมงานด้วย
4. การสื่อข้อความ หรือการสื่อสารภายในทีมงาน เพราะการสื่อสารโดยเสรี จริงจังจริงใจ และปราศจากการปิดบังซ่อนเร้นจะทำให้การดำเนินงานของ ทีมงานชัดเจนโปร่งใส และตรวจสอบได้ทุกระยะ
5. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในทีมงาน สมาชิกทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีค่า และ แน่นอนว่าไม่มีใครจะเก่งทุกเรื่อง ดังนั้น การที่เราให้ทุกคนมีส่วนร่วมใน การทำงาน อย่างเต็มที่จะทำให้เกิดความผูกพันในทีมงานเป็นอย่างสูง
6. การบริหารเวลาของทีมงาน การบริหารเวลาเป็นเรื่องสำคัญมากการใช้เวลามากไปหรือน้อยไปล้วนแต่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อทีมงาน การใช้เวลาที่ เหมาะสมอย่างเต็มประสิทธิภาพจะทำให้เกิดประสิทธิผลของงานอย่างเต็มที่
7. การตัดสินใจของทีมงาน การตัดสินใจของทีมงานย่อมมีผลผูกพันกับสมาชิกดังนั้น สมาชิกทุกคนจึงต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจด้วยจึงจะ เป็นการตัดสินใจที่ชอบด้วยเหตุและผล
8. การวิพากษ์การทำงานของทีมงาน การวิพากษ์เป็นเครื่องมือที่จะช่วยปรับปรุงผลงานของทีมงานให้ดีขึ้นดังนั้นทีมงานที่ดี จึงควรที่จะให้ สมาชิกวิพากษ์ กระบวนการทำงานของทีม เพื่อหาข้อบกพร่อง และข้อควรปรับปรุงแก้ไขต่อไป
9. การสร้างวัฒนธรรมของทีมงานวัฒนธรรมเกิดจากการประพฤติและการปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกในทีมงานจนก่อเกิดเป็นเป็นวัฒนธรรมของทีมงานซึ่ง อาจเป็นวัฒนธรรมที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ วัฒนธรรมที่ดีก็จะช่วยทำให้เกิดผลงานที่ดีด้วย
10. ความผูกพันของทีมงาน ทีมงานที่ดีจะสามารถสร้างพันธกิจร่วมกันให้สมาชิกเกิดความผูกพันกับทีมงาน และร่วมกันนำพาทีมงานให้ประสบความ สำเร็จอย่างยั่งยืน มิฉะนั้นก็จะเป็นเพียงทีมงานเฉพาะกิจที่อยู่ได้ไม่นานนัก
2.มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การทำงานเป็นทีมประสบผลสำเร็จ
ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำงานเป็นทีม
1. บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย
2. ความไว้วางใจกัน เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน
3. มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน
4. บทบาท สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ เป็นต้น
5. วิธีการทำงาน สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ
5.1 การสื่อความ การทำงานเป็นทีมอาศัยบรรยากาศ การสื่อความที่ชัดเจนเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ทุกคนกล้าที่จะเปิดใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจ และนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ
5.2 การตัดสินใจ การทำงานเป็นทีมต้องใช้การตัดสินใจร่วมกัน เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจแล้ว สมาชิกย่อมเกิดความผูกพันที่จะทำในสิ่งที่ตนเองได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น
5.3 ภาวะผู้นำคือ บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น การทำงานเป็นทีมควรส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสแสดงความเป็นผู้นำ (ไม่ใช่ผลัดกันเป็นหัวหน้า) เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ จะได้รู้สึกว่าการทำงานเป็นทีมนั้นมีความหมาย ปรารถนาที่จะทำอีก
5.4 การกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน
6. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของทีม ทีมงานควรมีการประเมินผลการทำงาน เป็นระยะ ในรูปแบบทั้งไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ โดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน ทำให้สมาชิกได้ทราบความก้าวหน้าของงาน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงาน หรือการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ซึ่งในที่สุดสมาชิกจะได้ทราบว่าผลงานบรรลุเป้าหมาย และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด
7. การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง
7.1 พัฒนาศักยภาพทีมงาน ด้วยการสร้างแรงจูงใจทางบวก สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการจัดกิจกรรมสร้างพลังทีมงาน เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบผลสำเ
7.2 การให้รางวัล ปัจจุบันการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ส่วนใหญ่จะพิจารณาผลการทำงานเป็นรายบุคคล ดังนั้นระบบรางวัลที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม คือ การที่ทุกคนได้รางวัลอย่างยุติธรรมทุกคน คือ ควรสนับสนุนการให้รางวัลแก่การทำงานเป็นทีมในลักษณะที่ว่างอยู่บนพื้นฐานการให้รางวัลกับกลุ่ม
3.ในฐานะที่ท่านเป็นครูท่านจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไร
ในฐานะที่ข้าพเจ้าจะป็นครูต่อไปในอานาคตนั้น การที่เราเป็นครูแน่นนอนว่าจะต้องอยู่รวมกันเป็นสังคม และที่สำคัญการที่จะทำอะไรก็ตามจะต้องทำเป็นทีมจึงจะประสบความสำเสร็จได้ ดังนั้นในการสอนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะปลูกฝังในเด็กๆ รู้จักคำว่าทีม จะต้องให้ความสำคัญกับทีม- การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์- การใส่ใจซึ่งกันและกัน- การสร้างกำลังใจให้กับทีม- การบรรลุเป้าหมายร่วมกัน เชื่อแน่ว่าทีมของเราจะเป็นทีมเวิร์คแน่นอน
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังนี้
1.หลักการของการทำงานเป็นทีมควรเป็นอย่างไร
1. การตั้งวัตถุประสงค์ของทีมงานอย่างชัดเจน วัตถุประสงค์เป็นจุดหมายที่เราจะต้องบรรลุให้ได้ เป็นเหมือนดวงดาวที่เราจะต้องร่วมกันฟันฝ่าไปถึงไม่ว่า จะยากเย็นเพียงใดก็ตาม เช่น เป็นผู้นำตลาดหรือเป็นบรรษัทธรรมาภิบาล เป็นต้น
2. การกำหนดขั้นตอนการทำงานของทีมงาน การทำงานเป็นทีมจะต้องเป็นระบบ ดังนั้น ต้องมีความชัดเจนว่าใครจะเป็นคนทำ ทำอะไร ทำที่ไหน ทำอย่างไร ทำทำไม และทำเมื่อใด
3. การกำหนดทิศทางของทีมงาน ทิศทางการทำงานของทีมจะแสดงถึงความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และความแน่วแน่ของทีมงานในการทำงานให้ประสบ ความสำเร็จซึ่งถือเป็นการแสดงภาวะผู้นำของทีมงานด้วย
4. การสื่อข้อความ หรือการสื่อสารภายในทีมงาน เพราะการสื่อสารโดยเสรี จริงจังจริงใจ และปราศจากการปิดบังซ่อนเร้นจะทำให้การดำเนินงานของ ทีมงานชัดเจนโปร่งใส และตรวจสอบได้ทุกระยะ
5. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในทีมงาน สมาชิกทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีค่า และ แน่นอนว่าไม่มีใครจะเก่งทุกเรื่อง ดังนั้น การที่เราให้ทุกคนมีส่วนร่วมใน การทำงาน อย่างเต็มที่จะทำให้เกิดความผูกพันในทีมงานเป็นอย่างสูง
6. การบริหารเวลาของทีมงาน การบริหารเวลาเป็นเรื่องสำคัญมากการใช้เวลามากไปหรือน้อยไปล้วนแต่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อทีมงาน การใช้เวลาที่ เหมาะสมอย่างเต็มประสิทธิภาพจะทำให้เกิดประสิทธิผลของงานอย่างเต็มที่
7. การตัดสินใจของทีมงาน การตัดสินใจของทีมงานย่อมมีผลผูกพันกับสมาชิกดังนั้น สมาชิกทุกคนจึงต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจด้วยจึงจะ เป็นการตัดสินใจที่ชอบด้วยเหตุและผล
8. การวิพากษ์การทำงานของทีมงาน การวิพากษ์เป็นเครื่องมือที่จะช่วยปรับปรุงผลงานของทีมงานให้ดีขึ้นดังนั้นทีมงานที่ดี จึงควรที่จะให้ สมาชิกวิพากษ์ กระบวนการทำงานของทีม เพื่อหาข้อบกพร่อง และข้อควรปรับปรุงแก้ไขต่อไป
9. การสร้างวัฒนธรรมของทีมงานวัฒนธรรมเกิดจากการประพฤติและการปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกในทีมงานจนก่อเกิดเป็นเป็นวัฒนธรรมของทีมงานซึ่ง อาจเป็นวัฒนธรรมที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ วัฒนธรรมที่ดีก็จะช่วยทำให้เกิดผลงานที่ดีด้วย
10. ความผูกพันของทีมงาน ทีมงานที่ดีจะสามารถสร้างพันธกิจร่วมกันให้สมาชิกเกิดความผูกพันกับทีมงาน และร่วมกันนำพาทีมงานให้ประสบความ สำเร็จอย่างยั่งยืน มิฉะนั้นก็จะเป็นเพียงทีมงานเฉพาะกิจที่อยู่ได้ไม่นานนัก
2.มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การทำงานเป็นทีมประสบผลสำเร็จ
ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำงานเป็นทีม
1. บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย
2. ความไว้วางใจกัน เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน
3. มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน
4. บทบาท สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ เป็นต้น
5. วิธีการทำงาน สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ
5.1 การสื่อความ การทำงานเป็นทีมอาศัยบรรยากาศ การสื่อความที่ชัดเจนเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ทุกคนกล้าที่จะเปิดใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจ และนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ
5.2 การตัดสินใจ การทำงานเป็นทีมต้องใช้การตัดสินใจร่วมกัน เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจแล้ว สมาชิกย่อมเกิดความผูกพันที่จะทำในสิ่งที่ตนเองได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น
5.3 ภาวะผู้นำคือ บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น การทำงานเป็นทีมควรส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสแสดงความเป็นผู้นำ (ไม่ใช่ผลัดกันเป็นหัวหน้า) เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ จะได้รู้สึกว่าการทำงานเป็นทีมนั้นมีความหมาย ปรารถนาที่จะทำอีก
5.4 การกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน
6. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของทีม ทีมงานควรมีการประเมินผลการทำงาน เป็นระยะ ในรูปแบบทั้งไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ โดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน ทำให้สมาชิกได้ทราบความก้าวหน้าของงาน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงาน หรือการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ซึ่งในที่สุดสมาชิกจะได้ทราบว่าผลงานบรรลุเป้าหมาย และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด
7. การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง
7.1 พัฒนาศักยภาพทีมงาน ด้วยการสร้างแรงจูงใจทางบวก สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการจัดกิจกรรมสร้างพลังทีมงาน เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบผลสำเ
7.2 การให้รางวัล ปัจจุบันการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ส่วนใหญ่จะพิจารณาผลการทำงานเป็นรายบุคคล ดังนั้นระบบรางวัลที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม คือ การที่ทุกคนได้รางวัลอย่างยุติธรรมทุกคน คือ ควรสนับสนุนการให้รางวัลแก่การทำงานเป็นทีมในลักษณะที่ว่างอยู่บนพื้นฐานการให้รางวัลกับกลุ่ม
3.ในฐานะที่ท่านเป็นครูท่านจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไร
ในฐานะที่ข้าพเจ้าจะป็นครูต่อไปในอานาคตนั้น การที่เราเป็นครูแน่นนอนว่าจะต้องอยู่รวมกันเป็นสังคม และที่สำคัญการที่จะทำอะไรก็ตามจะต้องทำเป็นทีมจึงจะประสบความสำเสร็จได้ ดังนั้นในการสอนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะปลูกฝังในเด็กๆ รู้จักคำว่าทีม จะต้องให้ความสำคัญกับทีม- การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์- การใส่ใจซึ่งกันและกัน- การสร้างกำลังใจให้กับทีม- การบรรลุเป้าหมายร่วมกัน เชื่อแน่ว่าทีมของเราจะเป็นทีมเวิร์คแน่นอน
ใบงานครั้งที่3
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังต่อไปนี้
1.ความหมายองค์และองค์การ
องค์กร(Organ) หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน หรือขึ้นต่อกันและกันองค์การ(Organization) หมายถึง การเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ร่วมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย
2.องค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการองค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง
1. ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย ในปัจจุบันสายสัญญาณหรือเคเบิลที่นิยมใช้กันมีดังนี้-*สายทวิสเตคแพร์ หรือที่เรียกว่า “สายคู่บิดเกลียว” เป็นสายโทรศัพท์ที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ทั่วไปสามารถส่งสัญญาณเสียงหรือสัญญาณดิจิตอลก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของสายมีลักษณะเป็นสายทองแดง 2 เส้น ซึ่งแต่ละเส้นมีฉนวนหุ้ม แล้วนำมาพันกันเป็นเกลียวและเก็บอยู่ภายในเปลือกหุ้ม (Jacket) เดียวกัน * สายคู่บิดเกลียวมีชีลด์ (Shielded Twisted Pair: STP)สาย STP มีการป้องกันสัญญาณรบกวนด้วยการใช้ฉนวนพิเศษพันอยู่โดยรอบช่วยให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นมีระยะทางในการส่งประมาณ 600-800 เมตร* สายคู่บิดเกลียวไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted Pair: UTP)สาย UTP เป็นสายที่ไม่มีการป้องกันสัญญาณรบกวนเป็นพิเศษมีระยะทางในการส่งประมาณ 400-600 เมตร นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการหรือห้องเรียนต่าง ๆ2.เคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable)สายโคแอกเชียลและสายทวิสเตดแพร์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นมีสายทองแดงเส้นหนึ่งอยู่ตรงกึ่งกลาง เพื่อทำหน้าที่ในการนำกระแสไฟฟ้าส่วนในกรณีของเคเบิลใยแก้วนำแสงนั้นจะใช้แท่งแก้วที่มีลักษณะทรงกระบอกอยู่ตรงกลางแทนโดยเคเบิลใยแก้วนำแสงนี้ใช้วิธีการส่งข้อมูลด้วยแสงแทนการส่งด้วยสัญญาณไฟฟ้า
4.ประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
มนุษย์ทุกคนมีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันนั้นดำเนินไปอย่างสันติสุข การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยปกติมนุษย์จะใช้การสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้๑. เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูลเหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ๒. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา เป็นการสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา จึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอน หรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ๓. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร เช่น ทำให้เกิดความบันเทิง รื่นเริง สนุกสนาน เกิดความพอใจ เกิดความสุข ความสบายใจ เป็นต้น๔. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ จะมุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตาม เช่น เปลี่ยนทัศนคติจากที่เคยไม่ชอบมาชอบได้ ฉะนั้น ผู้ส่งสารจึงต้องใช้วิธีการนำเสนอสารในรูปแบบของการแนะนำ ชี้แนะ หรือยั่วยุ และปลุกเร้าที่เหมาะสม
5.ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไร
ในการสื่อสารนั้นทุกคนย่อมมีจุดประสงค์ในการสื่อสาร แต่ว่าในการสื่อสารนั้นก็ย่อมจะมีทั้งที่ดีและไม่ดีไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแบบที่ต้องการแจ้งให้ทราบ สอนหรือให้ศึกษา ให้ความพอใจหรือให้ความบันเทิงเพื่อเสนอหรือชักจูง แล้วแต่ว่าเราจะมีกระบวนการที่จะสื่อสารอย่างไร ในการสื่อสารนั้นควรสื่อสารแต่ข้อมูลที่ดีมีประโยชน์ เพราะการสื่อสารนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมของเรานั้น
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังต่อไปนี้
1.ความหมายองค์และองค์การ
องค์กร(Organ) หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน หรือขึ้นต่อกันและกันองค์การ(Organization) หมายถึง การเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ร่วมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย
2.องค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการองค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง
1. ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย ในปัจจุบันสายสัญญาณหรือเคเบิลที่นิยมใช้กันมีดังนี้-*สายทวิสเตคแพร์ หรือที่เรียกว่า “สายคู่บิดเกลียว” เป็นสายโทรศัพท์ที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ทั่วไปสามารถส่งสัญญาณเสียงหรือสัญญาณดิจิตอลก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของสายมีลักษณะเป็นสายทองแดง 2 เส้น ซึ่งแต่ละเส้นมีฉนวนหุ้ม แล้วนำมาพันกันเป็นเกลียวและเก็บอยู่ภายในเปลือกหุ้ม (Jacket) เดียวกัน * สายคู่บิดเกลียวมีชีลด์ (Shielded Twisted Pair: STP)สาย STP มีการป้องกันสัญญาณรบกวนด้วยการใช้ฉนวนพิเศษพันอยู่โดยรอบช่วยให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นมีระยะทางในการส่งประมาณ 600-800 เมตร* สายคู่บิดเกลียวไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted Pair: UTP)สาย UTP เป็นสายที่ไม่มีการป้องกันสัญญาณรบกวนเป็นพิเศษมีระยะทางในการส่งประมาณ 400-600 เมตร นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการหรือห้องเรียนต่าง ๆ2.เคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable)สายโคแอกเชียลและสายทวิสเตดแพร์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นมีสายทองแดงเส้นหนึ่งอยู่ตรงกึ่งกลาง เพื่อทำหน้าที่ในการนำกระแสไฟฟ้าส่วนในกรณีของเคเบิลใยแก้วนำแสงนั้นจะใช้แท่งแก้วที่มีลักษณะทรงกระบอกอยู่ตรงกลางแทนโดยเคเบิลใยแก้วนำแสงนี้ใช้วิธีการส่งข้อมูลด้วยแสงแทนการส่งด้วยสัญญาณไฟฟ้า
4.ประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
มนุษย์ทุกคนมีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันนั้นดำเนินไปอย่างสันติสุข การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยปกติมนุษย์จะใช้การสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้๑. เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูลเหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ๒. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา เป็นการสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา จึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอน หรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ๓. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร เช่น ทำให้เกิดความบันเทิง รื่นเริง สนุกสนาน เกิดความพอใจ เกิดความสุข ความสบายใจ เป็นต้น๔. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ จะมุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตาม เช่น เปลี่ยนทัศนคติจากที่เคยไม่ชอบมาชอบได้ ฉะนั้น ผู้ส่งสารจึงต้องใช้วิธีการนำเสนอสารในรูปแบบของการแนะนำ ชี้แนะ หรือยั่วยุ และปลุกเร้าที่เหมาะสม
5.ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไร
ในการสื่อสารนั้นทุกคนย่อมมีจุดประสงค์ในการสื่อสาร แต่ว่าในการสื่อสารนั้นก็ย่อมจะมีทั้งที่ดีและไม่ดีไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแบบที่ต้องการแจ้งให้ทราบ สอนหรือให้ศึกษา ให้ความพอใจหรือให้ความบันเทิงเพื่อเสนอหรือชักจูง แล้วแต่ว่าเราจะมีกระบวนการที่จะสื่อสารอย่างไร ในการสื่อสารนั้นควรสื่อสารแต่ข้อมูลที่ดีมีประโยชน์ เพราะการสื่อสารนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมของเรานั้น
ใบงานครั้งที่ 2
เรื่อง ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้ความหมาย ผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ผู้นำ คือ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมา หรือได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้า เป็นศูนย์กลาง เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย ประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาท และขณะเดียวกันก็สามารถทำให้สมาชิกภายในกลุ่มปฏิบัติงานร่วมกัน โดยใช้อิทธิพลในความสัมพันธ์ ความสมัครสมานสามัคคีกัน ปฏิบัติการ และอำนวยการให้งานเจริญก้าวหน้า และ บรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้บริหาร คือ ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ
2. นักศึกษาสรุปบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้นำ
ภาวะผู้นำมีบทบาทที่แบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น 4 ประการ 1.การกำหนดแนวทางหลัก (Pathfinding) ผู้นำควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายและแนวความคิดที่ชัดเจน 2.การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล (Aligning) การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผลหรือการทำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน คือการลงมือสร้างแผนหลักที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนที่หนึ่ง ทุกระดับชั้นขององค์การควรมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน ในฐานะผู้นำต้องเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน และโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายขององค์การที่ได้วางไว้แล้ว 3.การมอบอำนาจ หากผู้นำมีการมอบอำนาจให้แก่พนักงานอย่างจริงจังจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มเกิดประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆที่สร้างสรรค์ 4.การสร้างตัวแบบ (Modeling) หัวใจของการเป็นผู้นำคือต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะไม่เพียงแต่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไรเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะ (Characteristics) กับความรู้ความสามารถ เพราะไม่ว่าบุคคลจะมีความสามรถเพียงใดก็ไม่สามารถจะเป็นผู้นำที่แท้จริงได้ หากปราศจากซึ่งคุณลักษณะที่เหมาะสม
3. นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒาภาวะผู้นำของนักศึกษาได้อย่างไร
การพัฒนาภาวะผู้นำ การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องพัฒนา ตัวเองอยู่เสมอให้นำหน้าบุคคลอื่น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ใต้บังคับบัญชาของตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ การพัฒนา ภาวะผู้นำอาจทำได้ ดังนี้1. Learn on the job คือ เรียนจากงานที่ทำ ส่วนมากเวลาเราไปศึกษาดูงานจากสถานศึกษา มักจะดู Product (ผลงาน) มากกว่า เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียนดีเด่น มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไรจึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือ วิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น คนยิ่งกระตือรือร้นยิ่งขึ้น เป็นการท้ายทายกระตุ้นความสามารถยิ่งขึ้น 2. Learn from people คือ เรียนจากผู้อื่น ผู้นำต้องพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ผู้ใดที่อยู่ในกลุ่มคนเรียนเก่งก็จะเก่งไปด้วย แต่ตรงข้ามถ้าอยู่ในกลุ่มของคนเรียนอ่อนก็พลอยเป็นคนเรียนอ่อนไปด้วย เหมือนคำโบราณที่กล่าวว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล” 3. Learn from bosses คือ เรียนจากนาย ถ้าเราได้นายดี เราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดี เราก็พลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย การเรียนจากบทบาทแบบอย่าง (Roles) จะทำให้ผู้นำพัฒนาภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ผู้นำหลายคนเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง ซึ่งความผิดพลาดจะกลายเป็นบทเรียนชั้นดีได้4. Training and workshop คือ การฝึกอบรมและปฏิบัติการ เป็นสิ่งที่ผู้นำจะพัฒนาภาวะผู้นำของตัวเองได้ การฝึกอบรม (Training) มีอยู่ 4 รูปแบบคือ 4.1 New Leader คือ ผู้นำคำใหม่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใหม่ เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น จะต้องมีการฝึกอบรม เช่น ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ จะมีการฝึกอบรมก่อนจะเข้ารับตำแหน่งเสมอ 4.2 Management Development คือ การพัฒนาการวิธีการจัดการ การฝึกอบรมจะเน้นทักษะในการทำงาน จะต้องทำให้ดีกว่า เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง เช่น เมื่อมีกฎ ระเบียบ ออกมาใหม่ จะต้องเข้าอบรมเสียก่อน จะต้องฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำก็เช่นเดียวกัน ถ้ารู้กฎ ระเบียบ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อมูลใหม่ ๆ ท่านสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านได้ 4.3 Leadership Enhancement คือ เพิ่มพูนภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ฝึกความสามารถ 4.4 Leadership Vitality คือ ฝีกสิ่งสำคัญของภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ทุกคนรักความก้าวหน้า จะฝึกอย่างไรให้เขามีความก้าวหน้าเพราะทุกคนต้องการ
4. นักศึกษากล่าวถึงภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิดอย่างไร
1. จะต้องมีความฉลาด (Intelligence) ผู้นำจะต้องมีระดับความรู้และสติปัญญาโดยเฉลี่ยสูงกว่าบุคคลที่ให้เขาเป็นผู้นำ ถึงแม้จะไม่แตกต่างกันมาก เพราะผู้นำจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง2. จะต้องวุฒิภาวะทางสังคมและใจกว้าง (Social maturity & achievement breadth) คือจะต้องมีความสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว อย่างกว้างขวาง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จะต้องยอมรับสภาพต่าง ๆ ไม่ว่าแก้หรือชนะ ไม่ว่าผิดหวังหรือสำเร็จ 3. จะต้องมีแรงจูงใจภายใน (Inner motivation & achievement drive) ผู้นำจะต้องมีแรงจูงใจภายในสูง และจะต้องมีแรงขับที่จะทำอะไรให้ดีเด่น ให้สำเร็จอยู่เรื่อย ๆ เมื่อทำสิ่งหนึ่งสำเร็จก็ต้องการที่จะทำสิ่งอื่นต่อไป 4. จะต้องมีเจตคติเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ (Human relations attitudes) ผู้นำที่ประสบผลสำเร็จนั้น เขายอมรับอยู่เสมอว่า งานที่สำเร็จนั้นมีคนอื่นช่วยทำ ไม่ใช่เขาทำเอง
5. นักศึกษาคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดีควรทำอย่างไร
ผู้นําที่ดีจะต้องยึดหลัก “ธรรม” เช่น พรหม วิหาร ๔ ธรรมาธิปไตย พละ ๔ และสัปปุริสธรรม ๗ เป็นต้น เป็นคุณธรรมสําคัญสําหรับการปฏิบัติ หน้าที่ของตน เพื่อให้สามารถดําเนินกิจการงานทุกอย่างให้บรรลุผลสําเร็จที่วางไว้และนําพา หมู่คณะและสังคมไปสู่ความสงบสุขและมั่นคงตลอดไป
เรื่อง ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้ความหมาย ผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ผู้นำ คือ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมา หรือได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้า เป็นศูนย์กลาง เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย ประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาท และขณะเดียวกันก็สามารถทำให้สมาชิกภายในกลุ่มปฏิบัติงานร่วมกัน โดยใช้อิทธิพลในความสัมพันธ์ ความสมัครสมานสามัคคีกัน ปฏิบัติการ และอำนวยการให้งานเจริญก้าวหน้า และ บรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้บริหาร คือ ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ
2. นักศึกษาสรุปบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้นำ
ภาวะผู้นำมีบทบาทที่แบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น 4 ประการ 1.การกำหนดแนวทางหลัก (Pathfinding) ผู้นำควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายและแนวความคิดที่ชัดเจน 2.การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล (Aligning) การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผลหรือการทำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน คือการลงมือสร้างแผนหลักที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนที่หนึ่ง ทุกระดับชั้นขององค์การควรมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน ในฐานะผู้นำต้องเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน และโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายขององค์การที่ได้วางไว้แล้ว 3.การมอบอำนาจ หากผู้นำมีการมอบอำนาจให้แก่พนักงานอย่างจริงจังจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มเกิดประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆที่สร้างสรรค์ 4.การสร้างตัวแบบ (Modeling) หัวใจของการเป็นผู้นำคือต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะไม่เพียงแต่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไรเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะ (Characteristics) กับความรู้ความสามารถ เพราะไม่ว่าบุคคลจะมีความสามรถเพียงใดก็ไม่สามารถจะเป็นผู้นำที่แท้จริงได้ หากปราศจากซึ่งคุณลักษณะที่เหมาะสม
3. นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒาภาวะผู้นำของนักศึกษาได้อย่างไร
การพัฒนาภาวะผู้นำ การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องพัฒนา ตัวเองอยู่เสมอให้นำหน้าบุคคลอื่น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ใต้บังคับบัญชาของตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ การพัฒนา ภาวะผู้นำอาจทำได้ ดังนี้1. Learn on the job คือ เรียนจากงานที่ทำ ส่วนมากเวลาเราไปศึกษาดูงานจากสถานศึกษา มักจะดู Product (ผลงาน) มากกว่า เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียนดีเด่น มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไรจึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือ วิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น คนยิ่งกระตือรือร้นยิ่งขึ้น เป็นการท้ายทายกระตุ้นความสามารถยิ่งขึ้น 2. Learn from people คือ เรียนจากผู้อื่น ผู้นำต้องพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ผู้ใดที่อยู่ในกลุ่มคนเรียนเก่งก็จะเก่งไปด้วย แต่ตรงข้ามถ้าอยู่ในกลุ่มของคนเรียนอ่อนก็พลอยเป็นคนเรียนอ่อนไปด้วย เหมือนคำโบราณที่กล่าวว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล” 3. Learn from bosses คือ เรียนจากนาย ถ้าเราได้นายดี เราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดี เราก็พลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย การเรียนจากบทบาทแบบอย่าง (Roles) จะทำให้ผู้นำพัฒนาภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ผู้นำหลายคนเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง ซึ่งความผิดพลาดจะกลายเป็นบทเรียนชั้นดีได้4. Training and workshop คือ การฝึกอบรมและปฏิบัติการ เป็นสิ่งที่ผู้นำจะพัฒนาภาวะผู้นำของตัวเองได้ การฝึกอบรม (Training) มีอยู่ 4 รูปแบบคือ 4.1 New Leader คือ ผู้นำคำใหม่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใหม่ เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น จะต้องมีการฝึกอบรม เช่น ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ จะมีการฝึกอบรมก่อนจะเข้ารับตำแหน่งเสมอ 4.2 Management Development คือ การพัฒนาการวิธีการจัดการ การฝึกอบรมจะเน้นทักษะในการทำงาน จะต้องทำให้ดีกว่า เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง เช่น เมื่อมีกฎ ระเบียบ ออกมาใหม่ จะต้องเข้าอบรมเสียก่อน จะต้องฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำก็เช่นเดียวกัน ถ้ารู้กฎ ระเบียบ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อมูลใหม่ ๆ ท่านสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านได้ 4.3 Leadership Enhancement คือ เพิ่มพูนภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ฝึกความสามารถ 4.4 Leadership Vitality คือ ฝีกสิ่งสำคัญของภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ทุกคนรักความก้าวหน้า จะฝึกอย่างไรให้เขามีความก้าวหน้าเพราะทุกคนต้องการ
4. นักศึกษากล่าวถึงภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิดอย่างไร
1. จะต้องมีความฉลาด (Intelligence) ผู้นำจะต้องมีระดับความรู้และสติปัญญาโดยเฉลี่ยสูงกว่าบุคคลที่ให้เขาเป็นผู้นำ ถึงแม้จะไม่แตกต่างกันมาก เพราะผู้นำจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง2. จะต้องวุฒิภาวะทางสังคมและใจกว้าง (Social maturity & achievement breadth) คือจะต้องมีความสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว อย่างกว้างขวาง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จะต้องยอมรับสภาพต่าง ๆ ไม่ว่าแก้หรือชนะ ไม่ว่าผิดหวังหรือสำเร็จ 3. จะต้องมีแรงจูงใจภายใน (Inner motivation & achievement drive) ผู้นำจะต้องมีแรงจูงใจภายในสูง และจะต้องมีแรงขับที่จะทำอะไรให้ดีเด่น ให้สำเร็จอยู่เรื่อย ๆ เมื่อทำสิ่งหนึ่งสำเร็จก็ต้องการที่จะทำสิ่งอื่นต่อไป 4. จะต้องมีเจตคติเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ (Human relations attitudes) ผู้นำที่ประสบผลสำเร็จนั้น เขายอมรับอยู่เสมอว่า งานที่สำเร็จนั้นมีคนอื่นช่วยทำ ไม่ใช่เขาทำเอง
5. นักศึกษาคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดีควรทำอย่างไร
ผู้นําที่ดีจะต้องยึดหลัก “ธรรม” เช่น พรหม วิหาร ๔ ธรรมาธิปไตย พละ ๔ และสัปปุริสธรรม ๗ เป็นต้น เป็นคุณธรรมสําคัญสําหรับการปฏิบัติ หน้าที่ของตน เพื่อให้สามารถดําเนินกิจการงานทุกอย่างให้บรรลุผลสําเร็จที่วางไว้และนําพา หมู่คณะและสังคมไปสู่ความสงบสุขและมั่นคงตลอดไป
ใบงานครั้งที่ 1
ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
การบริหาร คือ กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่วางแผนการจัดองค์การ จัดคนเข้าทำงาน สั่งการ และควบคุม การทำงานให้กิจกรรมขององค์การดำเนินไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอยู่บนพื้นฐานของปัจจัยในการบริหารการศึกษา คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดีจากความหมายของการบริหารและการศึกษา จึงสรุปได้ว่าการบริหารการศึกษา คือ การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี” นั่นเอง
2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบศาสตร์
คือ สิ่งที่ได้ค้นพบและสามารถนำไปใช้ได้ อาจแบ่งเป็นดีรึไม่ดีศาสตร์ หรือ "ระบบวิชาความรู้"ส่วน ศิลป์ ในที่นี้หมายถึง "ฝีมือในการจัดการที่ให้ความสนใจปัจจัยทางด้านสังคม อารมณ์และความรู้สึกมาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจด้วย"การทำงานหรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ จะใช้แต่ศาสตร์ (วิชาความรู้) อย่างเดียวไม่พอ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็ก ๆ ของตัวเราเอง ปัญหาในองค์การ ปัญหาสังคม หรือแม้แต่ปัญหาระดับชาติ ก็คงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการแก้ปัญหา เพื่อจะได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดนั่นเอง
3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร มี 4 ยุค คือ ยุคที่ 1 วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่คนรู้จักรวมกำลังทำงานเรื่อยมา จนถึงประมาณ ค.ศ. 1880 เป็นครั้งแรกที่คาเริ่มหาวิธีการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ สาะสำคัญในยุคที่ 11. คนงานอยู่ภายใต้อำนาจของหัวหน้าผู้ควบคุมหรือนายจ้าง2. ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีพื้นฐานจากระบบเจ้าขุนมูลนาย3. ใช้ระบบเผด็จการ4. สังคมชาวเยอรมันมีการแบ่งแยกบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า5. มีระบบศักดินา ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค Classical ป็นยุคการบริหารทีมีหลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1880 – 1930สาระสำคัญของยุคที่ 21. มีการรปฏิวัติอุตสาหกรรม2. มีการจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างเพียงพอ3. มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว4. มีความก้าวหน้าทางวิชาการ5. เกิดศาสตร์ทางการบริหาร พื้นฐานความคิดของการบริหารยุคนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ยุคที่ 3 วิวัฒนาการของการบริหารยุคมนุษยสัมพันธ์เป็นแนวคิดทางการบริหารที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1974 มาจนถึง ค.ศ. 1950 พื้นฐานความคิดทางการบริหารกล่าวได้ว่า Elton Mayo เป็นบุคคลแรกที่มำให้แนวความคิดทางการบริหารเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์เป็นสังคม มีความต้องการให้ความคิดของตัวเองเป็นจริง เน้นการจูงใจ ยุคที่ 4 ยุคพฤติกรรมศาสตร์ คือ เป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนตามสถานการณ์
4. นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
1. Theory x ทฤษฎีเอกซ์ เป็นสมมติฐานในทางลบของบุคคล 2. Theory y ทฤษฎีวาย เป็นสมมติฐานทางบวกการบริหารแบบพฤติกรรมศาสตร์มีอิทธิพลต่อการบริหารการศึกษา คือ
1. ทำให้ผู้บริหารหันมาสนใจกับการพัฒนาระบบการทำงานและการส่งเสริม สร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในโรงเรียน
2. ผู้บริหารโรงเรียนควรนำหลักวิทยาศาสตร์ สังคม และจิตวิทยา มาใช้ในการบริหารอย่างเหมาะสมผสมผสานอย่างกลมกลืน
3. ผู้บริหารโรงเรียนควรนำกรอบความคิด นำสรุปที่ได้จากทฤษฎีการบริหารมาเป็นแนวทางในการบริหารและประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
แรงจูงใจ (Motive)สิ่งที่บุคคลคาดหวัง โดยที่สิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่บุคคลพึงพอใจ หรือไม่พึงพอใจก็ได้ แรงจูงใจมีผล ดังนี้1. เป็นพลังงานที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม2. เป็นตัวกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรม3. เป็นตัวกำหนดระดับของความพยายามมนุษยสัมพันธ์มนุษยสัมพันธ์ เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้คนและกลุ่มคนมาเกี่ยวข้องกันทั้งในเรื่องงาน เรื่องส่วนตัวจนสามารถทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ เพื่อที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการทำงานเพื่อส่วนรวมนี้จะเป็นกระบวนการกลุ่มที่ทำงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ เต็มความสามารถ
ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
การบริหาร คือ กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่วางแผนการจัดองค์การ จัดคนเข้าทำงาน สั่งการ และควบคุม การทำงานให้กิจกรรมขององค์การดำเนินไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอยู่บนพื้นฐานของปัจจัยในการบริหารการศึกษา คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดีจากความหมายของการบริหารและการศึกษา จึงสรุปได้ว่าการบริหารการศึกษา คือ การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี” นั่นเอง
2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบศาสตร์
คือ สิ่งที่ได้ค้นพบและสามารถนำไปใช้ได้ อาจแบ่งเป็นดีรึไม่ดีศาสตร์ หรือ "ระบบวิชาความรู้"ส่วน ศิลป์ ในที่นี้หมายถึง "ฝีมือในการจัดการที่ให้ความสนใจปัจจัยทางด้านสังคม อารมณ์และความรู้สึกมาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจด้วย"การทำงานหรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ จะใช้แต่ศาสตร์ (วิชาความรู้) อย่างเดียวไม่พอ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็ก ๆ ของตัวเราเอง ปัญหาในองค์การ ปัญหาสังคม หรือแม้แต่ปัญหาระดับชาติ ก็คงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการแก้ปัญหา เพื่อจะได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดนั่นเอง
3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร มี 4 ยุค คือ ยุคที่ 1 วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่คนรู้จักรวมกำลังทำงานเรื่อยมา จนถึงประมาณ ค.ศ. 1880 เป็นครั้งแรกที่คาเริ่มหาวิธีการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ สาะสำคัญในยุคที่ 11. คนงานอยู่ภายใต้อำนาจของหัวหน้าผู้ควบคุมหรือนายจ้าง2. ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีพื้นฐานจากระบบเจ้าขุนมูลนาย3. ใช้ระบบเผด็จการ4. สังคมชาวเยอรมันมีการแบ่งแยกบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า5. มีระบบศักดินา ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค Classical ป็นยุคการบริหารทีมีหลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1880 – 1930สาระสำคัญของยุคที่ 21. มีการรปฏิวัติอุตสาหกรรม2. มีการจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างเพียงพอ3. มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว4. มีความก้าวหน้าทางวิชาการ5. เกิดศาสตร์ทางการบริหาร พื้นฐานความคิดของการบริหารยุคนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ยุคที่ 3 วิวัฒนาการของการบริหารยุคมนุษยสัมพันธ์เป็นแนวคิดทางการบริหารที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1974 มาจนถึง ค.ศ. 1950 พื้นฐานความคิดทางการบริหารกล่าวได้ว่า Elton Mayo เป็นบุคคลแรกที่มำให้แนวความคิดทางการบริหารเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์เป็นสังคม มีความต้องการให้ความคิดของตัวเองเป็นจริง เน้นการจูงใจ ยุคที่ 4 ยุคพฤติกรรมศาสตร์ คือ เป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนตามสถานการณ์
4. นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
1. Theory x ทฤษฎีเอกซ์ เป็นสมมติฐานในทางลบของบุคคล 2. Theory y ทฤษฎีวาย เป็นสมมติฐานทางบวกการบริหารแบบพฤติกรรมศาสตร์มีอิทธิพลต่อการบริหารการศึกษา คือ
1. ทำให้ผู้บริหารหันมาสนใจกับการพัฒนาระบบการทำงานและการส่งเสริม สร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในโรงเรียน
2. ผู้บริหารโรงเรียนควรนำหลักวิทยาศาสตร์ สังคม และจิตวิทยา มาใช้ในการบริหารอย่างเหมาะสมผสมผสานอย่างกลมกลืน
3. ผู้บริหารโรงเรียนควรนำกรอบความคิด นำสรุปที่ได้จากทฤษฎีการบริหารมาเป็นแนวทางในการบริหารและประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
แรงจูงใจ (Motive)สิ่งที่บุคคลคาดหวัง โดยที่สิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่บุคคลพึงพอใจ หรือไม่พึงพอใจก็ได้ แรงจูงใจมีผล ดังนี้1. เป็นพลังงานที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม2. เป็นตัวกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรม3. เป็นตัวกำหนดระดับของความพยายามมนุษยสัมพันธ์มนุษยสัมพันธ์ เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้คนและกลุ่มคนมาเกี่ยวข้องกันทั้งในเรื่องงาน เรื่องส่วนตัวจนสามารถทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ เพื่อที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการทำงานเพื่อส่วนรวมนี้จะเป็นกระบวนการกลุ่มที่ทำงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ เต็มความสามารถ
วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553
แนะนำตัว
ชื่อ นางสาววีร์วิกา อุบลจันทร์
เรียกเล่นๆ กาก้า
เกิด 22 มิ.ย. 31
อายุ 21 ขวบ
คติ คนท้อไม่แท้ คนแท้ไม่ท้อ
หลบมาบ้าน บ้านน้ำแคบ ม.1 ต.อินคีรี อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช 80230
การศึกษา อนุบาล-ประถม โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์
มัธยมต้น-ปลาย โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
E-mail kaka_fanta@hotmail.com
G-mail kakafanta026@gmail.com
เรียกเล่นๆ กาก้า
เกิด 22 มิ.ย. 31
อายุ 21 ขวบ
คติ คนท้อไม่แท้ คนแท้ไม่ท้อ
หลบมาบ้าน บ้านน้ำแคบ ม.1 ต.อินคีรี อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช 80230
การศึกษา อนุบาล-ประถม โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์
มัธยมต้น-ปลาย โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
E-mail kaka_fanta@hotmail.com
G-mail kakafanta026@gmail.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)